ตะคริวเกิดจากอะไร? แล้วถ้าเป็นแล้ว จะมีวิธีแก้ตะคริวได้ยังไงบ้าง?
ทุกคนเคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่า ทำไมเราถึงเป็นตะคริว บางคนก็เป็นตอนออกกำลังกาย บางคนก็เป็นตอนนอน ทั้งปวดทั้งเกร็งจนแทบทนไม่ไหว วันนี้พี่ล็อกจะพาทุกคนมาหาคำตอบกันครับว่า ตะคริวเกิดจากอะไรเพื่อป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกวิธี มาเริ่มกันเลย
ตะคริวคืออะไร? ตะคริวเกิดจากอะไรได้บ้าง?
ตะคริว คือ อาการของกล้ามเนื้อหดเกร็งจนเป็นก้อนแข็ง มีอาการปวดฉับพลัน และมักเป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ จากนั้นก็จะค่อย ๆ หายได้เอง เราสามารถเป็นตะคริวได้ทุกส่วนของร่างกายแต่มักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานบ่อย ๆ หรือการเกร็งกล้ามเนื้อมัดเดิมเป็นเวลานาน
ตะคริวเกิดจากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้:
- สูญเสียน้ำจากการออกกำลังกายในสถานที่อากาศร้อน
- กล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการกระแทกหรือการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป
- เกร็งกล้ามเนื้อมัดเดิมค้างเป็นเวลานาน
- มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
- เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล เช่น ขาดโพแทสเซียม ขาดแมกนีเซียม
- เซลล์ประสาทสั่งการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาผิดปกติ
วิธีแก้ตะคริว ทำเองได้ไม่ยาก
- ตะคริวบริเวณน่อง: นั่งลงพื้น ยืดขาให้ตรง แล้วใช้มือดึงปลายเท้าของขาข้างที่มีอาการเข้าหาตัว
- ตะคริวที่ต้นขาส่วนหลัง: ยืนขึ้นและถ่ายน้ำหนักไปที่ขาข้างที่กำลังเป็นตะคริว
- ตะคริวที่ต้นขาส่วนหน้า: ยืนตรง งอขาข้างที่มีอาการไปด้านหลัง ใช้มือจับปลายเท้าให้แตะก้น ขณะทำท่านี้อาจใช้มืออีกข้างเกาะเก้าอี้เพื่อช่วยทรงตัว
- การบำบัดด้วยความร้อนหรือความเย็น:
- วิธีใช้ความร้อน: ประคบด้วยถุงน้ำร้อน แช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ฝักบัวฉีดน้ำอุ่นไปยังจุดที่เป็นตะคริว
- วิธีใช้ความเย็น: ใช้น้ำแข็งลูบบริเวณที่มีอาการเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
- หากวิธีแก้ตะคริวเหล่านี้ใช้ไม่ได้ผล พี่ล็อกก็แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อวินัจฉัยและอาจต้องทานยาเพื่อรักษาอย่างถูกต้องครับ
ตะคริวเกิดจากอะไร ก็ป้องกันได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
- ดื่มน้ำให้มากพอ: การขาดน้ำเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดตะคริว เราจึงควรดื่มน้ำให้ได้ 8-10 แก้วต่อวันในวันปกติ และควรดื่มในปริมาณที่มากขึ้นในวันที่ออกกำลังกาย
- ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกาย: เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อ
- ทำให้อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายสมดุล: กล้ามเนื้อของเราอาศัยสารอาหารและแร่ธาตุบางชนิดในการหดและคลายตัว โดยอิเล็กโทรไลต์จะประกอบไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม
- แคลเซียม หาได้จากนม โยเกิร์ต เต้าหู้
- โพแทสเซียม หาได้จากกล้วย อะโวคาโด น้ำมะพร้าว
- แมกนีเซียม หาได้จากผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช
ตัวอย่างเครื่องดื่มป้องกันตะคริว น้ำมะพร้าวปั่นอะโวคาโด
วัตถุดิบ
- น้ำมะพร้าว 200 ml.
- อะโวคาโด 1 ผล
- น้ำเชื่อมหล่อฮังก๊วย 5 ml.
- เกลือ เล็กน้อย
- น้ำแข็ง ตามชอบ
วิธีทำ
- ล้างอะโวคาโดให้สะอาด ปอกเปลือกคว้านเมล็ดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เตรียมไว้
- นำใส่โถปั่นพร้อมน้ำมะพร้าว น้ำแข็ง เกลือและน้ำเชื่อมก็เป็นอันเสร็จ ได้น้ำมะพร้าวปั่นอะโวคาโดที่ทั้งหอม หวาน สดชื่น อุดมด้วยโพแทสเซียมช่วยในการป้องกันตะคริวอย่างได้ผล
คิดสูตรน้ำปั่นป้องกันตะคริวของตัวเอง ด้วยเครื่องปั่นพลังสูง High Speed Blender รุ่น EJM476SLV
หมดปัญหาน้ำปั่นที่เนื้อไม่เนียนแถมบางครั้งยังมีก้อนน้ำแข็งตอนดื่มให้เสียอารมณ์ พี่ล็อกขอแนะนำเครื่องปั่นพลังสูง LocknLock High Speed Blender รุ่น EJM476SLV ที่เป็นเหมือนเครื่องปั่นคู่ครัวของพี่ล็อก ไม่ว่าจะปั่นอะไร ปั่นแบบไหน ก็เนื้อเนียนสมูทสุด ๆ ด้วยรอบการปั่นถึง 32,000 รอบต่อนาที ปั่นได้ปั่นดีแม้แต่ก้อนน้ำแข็งที่ว่าปั่นยาก ด้วยใบมีด 6 แฉกทำจากสแตนเลส สตีล Food Grade แข็งแรงทนทาน ใช้งานง่ายด้วยปุ่มควบคุมความเร็วสูงสุด 6 ระดับ พร้อมฟังก์ชันอัตโนมัติ 3 โหมดทั้งปั่นน้ำแข็ง ทำสมูทตี้และโหมดปั่นแบบกระแทก ทำความสะอาดง่ายดาย เพียงเติมน้ำและน้ำยาล้างจานลงไปปั่นหลังจากใช้งาน เพียงเท่านี้ก็จะได้โถปั่นที่สะอาดเอี่ยม ยิ่งเมนูน้ำปั่นป้องกันตะคริวอย่างน้ำมะพร้าวปั่นอะโวคาโดสูตรที่กล่าวมา พี่ล็อกยังสามารถอัปเกรดเสริมแมกนีเซียมด้วยผักโขมอ่อนสัก 10 กรัมลงไปปั่นด้วยก็ยังได้เนื้อเนียนไม่ฝืดคอ ทั้งแก้ตะคริวและเสริมอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายได้พร้อมๆ กัน บอกได้เลยว่าสมบูรณ์แบบสุด ๆ
ฟังก์ชันดีน่ามีไว้คู่ครัวแบบนี้สามารถซื้อได้ง่ายกว่าที่คิดที่ LocknLock Official ทุกช่องทาง หรือง่าย ๆ
แค่คลิก: เครื่องปั่นพลังสูง